RSS

ประวัติศาตร์ไทย

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มกราคม 18, 2012 นิ้ว Uncategorized

 

การดำเนินชีวิตของผู้คน

1. คนสมัยก่อน รักษาศีล 5 ตลอดชีวิต เป็นเรื่องปกติ โดยไม่ต้องอาราธนาศีลแต่อย่างใด บางคนรักษาศีล 8 ตลอดชีวิตเช่นกัน แต่คนสมัยนี้ ศีล 5 ยังแทบจะไม่รักษา จึงต้องมีการอาราธนาศีลเกือบทุกครั้งไป

2. คนสมัยก่อน มีความสุขมากกว่าคนสมัยนี้ เพราะไม่มีตัวเลือกในการดำรงชีวิต อยู่กับธรรมชาติ ถึงแม้จะมีปัญหาเรื่องความเจ็บป่วย อนามัย แต่กิเลสน้อย กิจกรรมน้อยกว่ามาก ผิดกับปัจจุบัน คนมาก สิ่งอำนวยกิเลสมาก สนองความต้องการมาก ไม่หยุดหย่อน จะหาความสงบสุขได้ที่ไหน

จะมีคนหมู่น้อยเท่านั้น ที่หันหน้าเข้าหาธรรมะ มีสมาธิ ทำจิตให้สงบ และน่าจะมีความสุขกว่า

3. คนสมัยก่อนเข้าวัดเป็นปกติทุกอาทิตย์ คนสมัยนี้เดินห้าง ดูหนัง เป็นปกติทุกอาทิตย์

4. คนสมัยก่อนทำบุญตักบาตรเป็นนิจ สวดมนต์ก่อนหัวถึงหมอนทุกวัน

5. คนสมัยก่อน ไม่ถือเนื้อต้องตัวเพศตรงข้าม เพราะเป็นจุดเริ่มของการเสียพรหมจรรย์

6. คนสมัยก่อน มีบทลงโทษ เกี่ยวกับบาปบุญคุณโทษ แรงมาก หากทำผิดร้ายแรง จะต้องมีการประณาม สาปแช่ง ประจานต่อหน้าผู้คน ทั้งบ้านทั้งเมือง

7. คนสมัยก่อน มีความเคารพ ยกย่องครูบาอาจารย์อย่างสูงสุด นับถือและให้เกียรติระบบอาวุโสอย่างเคร่งครัด ในขณะที่คนสมัยนี้ คงทราบกันดีว่าเป็นอย่างไร

8. คนสมัยก่อน พูดจาไพเราะ กิริยามารยาทงาม ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการเขียนหนังสือเรื่อง “สมบัติผู้ดี” และในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม มีกฎหมายให้คนไทยนิยมพูดจาไพเราะ สุภาพชน ให้สมกับเป็นชาติพัฒนาแล้ว คนไทยสมัยนั้น นับว่าเป็นยุคที่พูดจาไพเราะ จนหลายสิบปีต่อมา เริ่มหันกลับไปใช้ของเก่า คำว่า กรุ จึงแพร่หลายมาจนปัจจุบัน และแถมท้ายด้วยคำหยาบอีกนานาชนิด

9. คนสมัยก่อน มีการศึกษาน้อย บังคับจบแค่ ป.4 แต่ยังเขียนภาษาไทยถูกต้อง ผิดกับคนไทยปัจจุบันเรียนถึงระดับมัธยม และอุดมศึกษา แต่กลับใช้ภาษาวิบัติอย่างน่าใจหาย

10. คนสมัยก่อน จะสร้างบารมี 10 ทัศ เช่นเดียวกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
บารมี แปลว่า กำลังใจเต็ม หรือความดีที่ได้บำเพ็ญไว้ บารมี 10 ทัศ มีดังนี้

1. ทานบารมี จิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ

2. ศีลบารมี จิตของเราพร้อมในการทรงศีล

3. เนกขัมมบารมี จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ

(เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช แต่ไม่ใช่ว่าต้องโกนหัวไม่จำเป็น)

4. ปัญญาบารมี จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารให้พินาศไป

5. วิริยะบารมี วิริยะ มีความเพียรทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ

6. ขันติบารมี ขันติ มีทั้งอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์

7. สัจจะบารมี สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลา ว่าเราจะจริงทุกอย่าง ในด้านของการทำความดี

8. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ

9. เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดี ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น

 

วัฒนธรรมในสมัยโบราณ

 

 

  • ความหมายของวัฒนธรรม

                          คำว่า วัฒนธรรมเป็นภาษาบาลีและสันสกฤต วัฒน เป็นภาษาบาลี แปลว่า เจริญงอกงาม ส่วนคำว่า ธรรม เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า ความดี ซึ่งถ้าแปลตามศัพท์ก็คือ สภาพอันเป็นความเจริญงอกงามหรือลักษณะที่แสดงถึงความงอกงาม

                           วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตหรือการดำเนินชีวิตของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งหมายรวม ถึงความคิด ศิลปะ วรรณคดี ดนตรี ปรัชญา ศีลธรรม จรรยา ภาษา กฎหมาย ความเชื่อ ขนบธรรม เนียมประเพณี และสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งได้ถ่ายทอดให้กับคนรุ่นต่อๆมา เป็นเรื่องของ การเรียนรู้จากคนกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งถ้าสิ่งใดดีก็เก็บไว้ สิ่งใดควรแก้ไขก็แก้ไขกันให้ดีขึ้น เพื่อจะได้ส่งเสริมให้มีลักษณะที่ดีประจำชาติต่อไป ในลักษณะนี้วัฒนธรรมจึงเป็นการแสดงออก ซึ่งความงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน

                           สรุปแล้ว วัฒนธรรมหมายถึงการดำเนินชีวิตของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่แสดงออกถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียว ความก้าวหน้า และศีลธรรมของประชาชน

  • ความเป็นมาของวัฒนธรรมไทย

                                    ชาติไทยเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมอันดีงามมาแต่โบราณ วัฒนธรรมไทยเรา มีและปฎิบัติกันอยู่ส่วนหนึ่งเป็นเป็นเรื่องของคนรุ่นก่อนๆ หรือบรรพบุรุษของเราได้ถ่ายทอด มายังอนุชนรุ่นหลัง ทำให้เรามีความประพฤติและการปฎิบัติอย่างที่เป็นอยู่ อีกส่วนหนึ่ง จากการที่เรามีการติดต่อกับชาติอื่นๆ เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี หรือเพื่อค้าขาย หรือด้วยเหตุใดก็ตาม วัฒธรรมของชาติที่เราเกี่ยวข้องด้วย มีผลต่อวัฒนธรรมไทยไม่น้อย และชนชาติที่มีอิทธิพล ต่อวัฒนธรรมไทย คือ มอญ ขอม อินเดีย จีน และชาติตะวันตก

                              หากมองย้อนสู่อดีต เราได้ติดต่อสมาคมกับชาวพื้นเมือง คือมอญและขอม ซึ่งมอญและขอมรับอิทธิพลจากอินเดียเช่นกัน โดยคนไทยเห็นว่าสิ่งใดดีมีประโยชน์ก็นำมา ดัดแปลงกลายเป็นวัฒนธรรมไทย

                              โดยเฉพาะอิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย ปรากฎได้ในด้านศาสนา การปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี วรรณคดี ศิลปกรรมอย่างกว้างขวาง แต่ในระยะหลังอิทธิพล ของอารยธรรมตะวันตกและจีนมีมากขึ้น

                              ในด้านศาสนา เรารับศาสนาพุทธมาจากอินเดีย ซึ่งอิทธิพลของศาสนาพุทธ มีต่อคนไทยอย่างมาก ทั้งในด้านการปกครอง และในด้านกิริยามารยาทและความเป็นอยู่จนกลาย เป็นธรรมเนียมไทยไป ส่วนคติความเชื่อในการประกอบพิธีต่างๆของพราหม์ ไทยก็นำมาปฎิบัติ     ิไม่น้อย

                              ในด้านการปกครอง ในสมัยสุโขทัย เรามีการปกครองแบบของตนเอง คือ แบบพ่อปกครองลูก แต่ปลายสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา มีอิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซง ทำให้รูป การปกครองได้เปลี่ยนจากแบบพ่อปกครองลูกมาเป็นข้ากับเจ้า หรือบ่าวกับนาย ซึ่งขอมก็รับการ ปกครองจากอินเดียมาอีกทีหนึ่ง โดยถือว่ากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ ภายหลังเรารับอารยธรรม ของตะวันตก จึงเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

                              ศิลปกรรม สมัยสุโขทัยมีศิลปกรรมเป็นของตนเอง งดงามและค่อนข้างเป็นแบบ ไทยแท้ แต่เมื่อไทยได้รับพุทธศาสนาลัทธิหินยานนิกายลังกาวงศ์ ศิลปกรรมของลังกาจึงเข้ามา มีอิทธิพลในศิลปของสุโขทัย โดยเฉพาะ เจดีย์ ส่วนคติการสร้างวัด หรือ การสร้างพระพุทธรูป เรารับมาจากอินเดีย พอถึงสมัยอยุธยาอิทธิพลของขอมมีมากในรูปการสร้างพระปรางค์

                              วรรณกรรม วรรณกรรมของอินเดียมักเกี่ยวกับศาสนา หรือยกย่องเทิดทูน พระมหากษัตริย์ ซึ่งคติความเชื่อในเรื่องนี้มีอิทธิพลต่อวรรณกรรมหรือพื้นฐานความเชื่อของไทย

                              ภาษา ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์อักษร ไทยขึ้นโดย               ได้รับอิทธิพลจากอักษรขอมนอกเหนือจาก ภาษาขอมแล้วเรายังนิยมใช้ภาษาบาลี และภาษา สันสกฤตซึ่งเป็นผลจากการเผลแผ่ศาสนาพุทธและศาสนาพราหม์ เมื่อเรารับศาสนาเขา เราก็ รับภาษาเขามาใช้ด้วย สมัยอยุธยาเรารับการปกครองแบบสมมุติเทพมาจากขอม เราจึงรับภาษา ขอมมาใช้มากขึ้น โดยเฉพาะคำราชาศัพท์ ส่วนชาวจีน เราต้องอาศัยในการเดินเรือ ค้าขาย และรับเอาภาษาจีนมาใช้ในการเรียกตำแหน่งต่างๆ ปัจจุบันเรารับเอาภาษาอื่นๆมาใช้บ้าง เพื่อความเข้าใจต่อกันและเพื่อความรู้

                               หัตถกรรม สมัยพ่อขุนรามคำแหงมีช่างจีนมาสอนทำเครื่องปั้นดินเผา สมัย อยุธยา บางท่านกล่าวว่า เราคงได้ความคิดในการประดิษฐ์ลายประดับมุขของจีน แต่ในปัจจุบัน เรานิยมทำเครื่องถ้วยชามด้วยเครื่องจักรแบบตะวันตกไม่น้อย

                                                    ขนบธรรมเนียมประเพณี ไทยในสมัยอยุธยาได้คติความเชื่อจากขอม ที่ถือว่ากษัตริย์เป็นสมมติเทพ ทำให้มีการใช้คำราชาศัพท์และพิธีการต่างๆในราชสำนัก นอกจาก นั้นประเพณีไม่น้ ยได้มาจากอินเดีย เช่น การแต่งงาน เผาศพ ปลูกบ้าน ารตั้งศาลพระภูมิ แต่ อารยธรรมตะวันตกก็ได้เข้ามาผสมผสานในหลายเรื่อง เช่น การแต่งงานแบบไทยแต่เลี้ยงแบบฝรั่ง หรือการจับมือกันแทนการไหว้ในบางโอกาส

                                                    ระยะหลัง สังคมไทยมีการติดต่อกับประเทศที่เจริญกว่ามากขึ้น โดยเฉพาะ   ประเทศตะวันตก และยิ่งเราติดต่อมากขึ้นเท่าไรเราก็ยิ่งรับอารยธรรมจากเขามากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่า จะในด้านความเชื่อลัทธิ อุดมการณ์ การปกครอง การศึกษา สังคม เป็นต้น วิถีชีวิตที่เคยเป็นอยู่จึงเปลี่ยนไปจากเดิมในหลายด้าน เช่น ในด้านการปกครอง ด้านความเป็นอยู่ (ชายกับหญิงก็เท่าเทียมกันมากกว่าเมื่อก่อน หญิงสามารถทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับชายได้) ด้านการแต่งกาย ด้านการปลูกสร้าง (มีการใช้วัสดุใหม่ๆ เช่น อะลูมิเนียม ซีเมนต์ เป็นต้น)

                                                  สรุปแล้ว วัฒนธรรมไทยในอดีตและปัจจุบันมีอิทธิพลของอารยธรรมต่างชาติไม่มากก็น้อย โดยเราได้เลือกสรร สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเข้ากับสภาพความเป็นอยู่ของคนไทยเป็นการผสมผสานกับวัฒนธรรม ของเราเองที่มีมาแต่เดิม คือ เรายอมรับเอาวัฒนธรรมที่ดีของชาติอื่นที่เราติดต่อด้วยมาเป็นของเราบ้าง ดัดแปลงบ้าง ให้เข้ากับความเชื่อแบบไทยๆ จนเป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะแบบของเราเอง ที่แตกต่างกับชาติอื่นๆ โดยในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้พยายามส่งเสริมและรักษาวัฒนธรรม ที่ดีงามเหล่านี้ตลอดมา

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 30, 2011 นิ้ว Uncategorized

 

ความหมายตามศักราชต่างๆ

การนับและการเทียบศักราชในประวัติศาสตร์ไทย
                    การนับศักราชแบบไทยมีอยู่หลายแบบ  ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
                              –  พุทธศักราช (พ.ศ.)  พ.ศ. ใช้กันแพร่หลายในประเทศที่ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนา  เช่น  ไทย  ลาว  พม่าและกัมพูชา  โดยไทยเริ่มใช้ พ.ศ. มาตั้งแต่สมัยอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและใช้อย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 6  เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
 ประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี
                              –  มหาศักราช (ม.ศ.)  ม.ศ. เป็นศักราชที่เริ่มใช้ในอินเดียโดยพระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะทรงตั้งขึ้น  และต่อมาได้แพร่หลายไปยังดินแดนที่ได้รับอารยธรรมอินเดียมหาศักราชพบมากในจารึกสมัยสุโขทัยและจารึกในดินแดนไทยรุ่นแรก ๆ
 การเทียบมหาศักราชเป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 621
                              –  จุลศักราช (จ.ศ.)  จ.ศ. เป็นศักราชของพม่าสมัยพุกามก่อนแพร่เข้ามาในดินแดนประเทศไทยา  นิยมใช้ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย  อยุธยา  รัตนโกสินทร์ตอนต้น  และล้านนา
 การเทียบจุลศักราชเป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 1181
                              –  รัตนโกสินทร์ (ร.ศ.)  ร.ศ.  เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริขั้นใช้ในกลางรัชสมัยของพระองค์  โดยเริ่มนับ ร.ศ. 1  ในปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี คือ พ.ศ. 2325
 การเทียบรัตนโกสินทร์ศกเป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 2324
 นอกจากการนับศักราชที่กล่าวมา  ในบางกรณีบางเหตุการณ์ที่เราไม่ต้องนับเวลาอย่างละเอียดโดยการระบุศักราช  ก็อาจนับเวลาอย่างกว้าง ๆ ได้อีก  เช่น  สหัสวรรษ  หมายถึง  เวลาในรอบ 1,000 ปีศตวรรษ  หมายถึง  เวลาในรอบ 100 ปี  ทศวรรษ  หมายถึง เวลาในรอบ 10 ปี  เป็นต้น

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 30, 2011 นิ้ว เวลาและสมัย

 

การแบ่งยุคสมัย

สมัยประวัติศาสตร์ 

           การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ของไทย คือ การกำหนดช่วงเวลาเพื่อให้เข้าใจเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในดินแดนไทย  โดยทั่วไปการกำหนดช่วงเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของช่วงสมัยใดสมัยหนึ่ง มักจะอ้างอิงเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหรือเป็นจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์  เช่น  การขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งจนถึงปีที่พระองค์สวรรคตหรือสิ้นอำนาจหรือแบ่งตามศูนย์กลางอำนาจการปกครอง  เป็นต้นสมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งเป็นสมัยย่อยๆได้หลายแบบ เช่น

  1. แบ่งตามราชธานี
  2. แบ่งตามราชวงศ์
  3. แบ่งตามพระนามพระมหากษัตริย์
  4. แบ่งตามพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง
  5. แบ่งตามลักษณะการปกครอง
  6. แบ่งตามรัฐบาล
  7. แบ่งตามแนวประวัติศาสตร์สากล

1. แบ่งตามราชธานีการแบ่งแบบนี้นำชื่อราชธานีของไทย  ได้แก่ กรุงสุโขทัย  กรุงศรีอยุธยา  กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์มาเป็นชื่อยุคสมัย  เริ่มตั้งแต่เวลาของรัฐที่มีมาก่อน  สุโขทัยให้เป็นสมัยก่อนสุโขทัยดังนี้
– สมัยก่อนสุโขทัย ( ราวพุทธศตวรรษที่ 12 – พุทธศตวรรษที่ 17 )
– สมัยสุโขทัย พ.ศ.1792 – พ.ศ.2006
– สมัยอยุธยา พ.ศ.1893 – 2310
– สมัยธนบุรี พ.ศ.2310 – 2325
– สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325 ถึงปัจจุบัน

2. การแบ่งตามราชวงศ์การแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมามีอำนาจการปกครองในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น  สมัยอยุธยา แบ่งยุคสมัยตามราชวงศ์ได้ดังนี้
– สมัยราชวงศ์อู่ทอง พ.ศ.1893-1913  และ พ.ศ.1931-1952
– สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ พ.ศ.1913-1931 และ พ.ศ.1952-2112
– สมัยราชวงศ์สุโขทัย พ.ศ.2112-2172
– สมัยราชวงศ์ปราสาททอง  พ.ศ.2172-2231
– สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง  พ.ศ.2231-2310

3. แบ่งตามพระนามพระมหากษัตริย์โดยใช้เกณฑ์การขึ้นครองราชย์องค์หนึ่งไปจนถึงการสิ้นพระชนม์ เช่น 
-สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ. 1822 ถึง พ.ศ.1841 
-สมัยพระนารายณ์มหาราช  พ.ศ.2199 ถึง พ.ศ.2231

4.  แบ่งตามพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองการแบ่งตามพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง เช่น สมัยอยุธยาอาจแบ่งได้เป็น 3 ตอน คือ
– สมัยอยุธยาตอนต้น พ.ศ.1893-1991
– สมัยอยุธยาตอนกลาง พ.ศ.1991-2231
– สมัยอยุธยาตอนปลาย พ.ศ.2231-2310

5. แบ่งตามลักษณะการปกครองเช่น สมัยรัตนโกสินทร์อาจแบ่งย่อยเป็น 2 ยุค คือ
– สมัยรัตนโกสินทร์ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พ.ศ.2325 ถึง พ.ศ.2475
– สมัยรัตนโกสินทร์ยุคประชาธิปไตย  พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน

6. แบ่งตามรัฐบาลหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี  ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า  จึงมีการแบ่งยุคสมัยตามคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศในช่วงเวลาต่างๆกัน เช่น
– สมัยรัฐบาลนาย ชวน  หลีกภัย  พ.ศ.2535-2538
– สมัยรัฐบาลนายบรรหาร  ศิลปอาชา  พ.ศ.2538-2539
– สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  พ.ศ. 2539-2540
– สมัยรัฐบาลนายชวน  หลีกภัย พ.ศ.2540-2544
– สมัยรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ  ชินวัตร  พ.ศ. 2544-2549
– สมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ  จุลานนท์  พ.ศ.2549 – ปัจจุบัน

7. แบ่งตามแนวประวัติศาสตร์สากลช่วงเวลาสมัยประวัติศาสตร์ตามหลักประวัติศาสตร์สากล  นิยมแบ่งเป็น 4 สมัย คือ สมัยโบราณ  สมัยกลาง  สมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน สมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตามแนวประวัติศาสตร์สากลได้ ดังนี้
– สมัยโบราณ  ตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยจนถึงสิ้นรัชกาลที่ 3 สมัยรัตนโกสินทร์
– สมัยใหม่  ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึง พ.ศ.2475  เป็นสมัยปรับปรุงประเทศ
– สมัยปัจจุบัน  ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน

 

การเทียบศักราช

การนับศักราช
ศักราช หมายถึง ปีที่กำหนดเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งสำคัญมากสำหรับจดจารึกไว้
ศักราชที่มีกำหนดไว้มี คือพุทธศักราช (พ.ศ.) รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) คริสต์ศักราช
(ค.ศ.) และมหาศักราช (ม.ศ.) ศักราชเหล่านี้เริ่มต้นนับแตกต่างกัน
การที่จะเทียบศักราชได้จึงต้องนำเอาระยะต่างที่เริ่มนับมาบวกเข้าหรือลบออกดังนี้ ระยะเวลาที่ต่าง
พุทธศักราช มากกว่า คริสต์ศักราช 543 ปี
พุทธศักราช มากกว่า มหาศักราช 621 ปี
พุทธศักราช มากกว่า จุลศักราช 1,181 ปี
พุทธศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 2,324 ปี
คริสต์ศักราช มากกว่า มหาศักราช 78 ปี
คริสต์ศักราช มากกว่า จุลศักราช 638 ปี
คริสต์ศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,781 ปี
มหาศักราช มากกว่า จุลศักราช 560 ปี
มหาศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,705 ปี
จุลศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,143 ปี

พุทธศักราช (พ.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ซึ่งเดิมนับเอาวันเพ็ญ เดือน 6 เป็นวันเปลี่ยนศักราช ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนแทน อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมารัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เสียใหม่
โดยเริ่มนับตามสากลคือ วันที่ 1 มกราคม นับแต่ปี พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา

คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูเกิดเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.ศ. มีมาแล้วนับได้ 543 ปี
การคำนวณเดือนของ ค.ศ. จะเป็นแบบสุรยคติ ดังนั้นวันขึ้นปีใหม่ของ ค.ศ. จะเริ่มในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี

มหาศักราช (ม.ศ.)
เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีกษัตริย์ศักราชวงศ์พระองค์หนึ่งในประเทศอินเดียทรงมีชัยชนะเป็นมหาศักราชที่ 1
วิธีการนับวันเดือนปีจะเป็นไปตามสุริยคติ โดยวันขึ้นปีใหม่จะเริ่มเมื่อ 1 เมษายนของทุกปี

จุลศักราช (จ.ศ.) เริ่มนับเมื่อ พ.ศ. ล่วงมาได้ 1,181 ปี โดยนับเอาวันที่พระเถระพม่ารูปหนึ่งนามว่า “บุพโสระหัน ” สึกออกจาก การเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัล-ลังก์ การนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ โดยจะมีวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่

รัตนโกสินทร์ ศก (ร.ศ.) ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ล่วงมาได้ 2,325 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้บัญญัติขึ้น โดยเริ่มนับเอาวันที่รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร เป็น ร.ศ. 1 และวันเริ่มต้นปี คือวันที่ 1 เมษายน จนต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เลิกใช้ ร.ศ.)

วิธีการเทียบศักราช เช่น การคิดเทียบหา พ.ศ.
พ.ศ. = ค.ศ. + 543 หรือ ค.ศ. = พ.ศ. – 543
พ.ศ. = ม.ศ. + 621 หรือ ม.ศ. = พ.ศ. – 621
พ.ศ. = จ.ศ. + 1,181 หรือ จ.ศ. = พ.ศ. – 1,181
พ.ศ. = ร.ศ. + 2,324 หรือ ร.ศ. = พ.ศ. – 2,324

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 30, 2011 นิ้ว เวลาและสมัย

 

ยุคสมัยเก่าของไทย

สมัยลพบุรี ในช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ อิทธิพลทางวัฒนธรรมเขมรเริ่มแพร่หลายเข้ามาสู่พื้นที่ประเทศไทยทางด้านภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หลักฐ่านสำคัญที่ทำให้เราเชื่อได้ว่าอำนาจทางการเมืองของเขมรเข้ามาสู่ดินแดนไทย คือ ศาสนสถานทั้งที่สร้างเนื่องในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และศาสนาพุทธลัทธิมหายาน รวมทั้งศิลาจารึกต่างๆ ที่มีการระบุชื่อกษัตริย์เขมรว่าเป็นผู้สร้างหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง วัฒนธรรมเขมรที่แผ่ขยายเข้ามาทำให้สังคมเมืองในยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ เช่น การก่อสร้างบ้านเมืองมีแผนผังแตกต่างไปจากเดิม คือ มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก และมีคูน้ำคันดินล้อมรอบเพียงชั้นเดียวแทนที่จะสร้างเมืองที่มีรูปร่างไม่สม่ำเสมอ หรือเมืองรูปวงกลม วงรี ซึ่งมีคูน้ำหลายชั้น มีระบบการชลประทานเพื่อการบริหารน้ำสำหรับการเพาะปลูกข้าวแบบนาดำ และมี “ บาราย ” หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อการอุปโภคบริโภคของชุมชน จนกระทั่งราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖–๑๘ อาณาจักรเขมรได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนไทยมากขึ้น ปรากฏโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมเขมรโดยเฉพาะในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เกือบทั่วภาคอีสาน ลึกเข้ามาถึงภาคกลางและภาคตะวันตก โดยภาคกลางของประเทศไทยมีเมืองละโว้หรือลพบุรีเป็นศูนย์กลางสำคัญที่ปรากฏหลักฐานทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบนี้อยู่มาก ดังนั้นในเวลาที่ผ่านมาจึงกำหนดชื่อเรียกอายุสมัยของวัฒนธรรมที่พบในประเทศไทยว่า “ สมัยลพบุรี ” หลังจากสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เป็นต้นมา อิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมเขมรก็เสื่อมโทรมลงจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ก็สลายลงโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้สาเหตุเนื่องมาจากการแพร่หลายเข้ามาของพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ และเมืองในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยแถบลุ่มแม่น้ำยมเริ่มมีความเข้มแข้งมากขึ้น สถาปัตยกรรมแบบวัฒนธรรมเขมรที่พบในประเทศไทย ที่สำคัญได้แก่ ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น

สมัยสุโขทัย ดินแดนในเขตลุ่มแม่น้ำยมมีชุมชนอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่น ยาวนานมาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในศิลาจารึกวัดศรีชุม มีข้อความที่พอจะสรุปได้ว่าประมาณปี พ.ศ.๑๗๕๐ เมืองสุโขทัยมีกษัตริย์ปกครองทรงพระนามว่า “พ่อขุนศรีนาวนัมถม” เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลงขอมสบาดโขลญลำพงได้เข้ามายึดครองสุโขทัย ต่อมาเมื่ออำนาจเขมรที่มีเหนือแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั้งตอนล่างและตอนบนเสื่อมลงในตอนกลางของพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด พระราชโอรสของพ่อขุนศรีนาวนัมถม ได้ร่วมกันต่อสู้ขับไล่โขลญลำพงจนสามารถรวบรวมดินแดนกลับคืนมาได้สำเร็จในปี พ.ศ.๑๗๑๘ พ่อขุนบางกลางหาวสถาปนาขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ศรีอินทราทิตย์ ทรงพระนามว่า “พระเจ้าศรีอินทรบดินทราทิตย์” ขึ้นครองเมืองสุโขทัยซึ่งต่อมามีกษัตริย์ปกครองสืบทอดกันมาทั้งสิ้น ๑๐ พระองค์ การนับถือศาสนาของคนในสมัยสุโขทัย พุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักทั้งหินยานและมหายาน นอกจากนั้นยังมีศาสนาฮินดูและความเชื่อดั้งเดิม โดยพุทธศาสนาแบบหินยานลัทธิลังกาวงศ์ได้รับการยอมรับมากจนเป็นศาสนาประจำอาณาจักร รองลงมาคือ การนับถือผี หรือ พระขะผุงผี อันถือว่าเป็นผีที่ยิ่งใหญ่มากกว่าผีทั้งหลายในเมืองสุโขทัย นิกายมหายาน และศาสนาฮินดู ตามลำดับในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางมาก มีการติดต่อสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เป็นการวางรากฐานอารยธรรมไทย คือ การประดิษฐ์ตัวอักษรไทย ซึ่งได้ทรงนำแบบแผนของตัวหนังสืออินเดียฝ่ายใต้ โดยเฉพาะตัวอักษรคฤหณ์มาเป็นหลักในการประดิษฐ์ตัวอักษร โดยทรงพิจารณาเทียบเคียงกับตัวอักษรของเขมรและมอญ ศิลปกรรมในสมัยสุโขทัยที่โดดเด่นมากที่สุดได้แก่ งานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา โดยเฉพาะการสร้างพระพุทธรูปซึ่งมีรูปแบบที่เป็นของตนเองอย่างแท้จริง ศิลปะการสร้างพระพุทธรูปของสุโขทัยรุ่งเรืองและสวยงามมากในรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) พระพุทธรูปที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธชินราช พระศรีศากยมุนี และพระพุทธชินสีห์ เป็นต้น งานสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสมัยสุโขทัย คือ เจดีย์ทรงดอกบัวตูม ซึ่งสามารถศึกษาได้จากโบราณสถานที่สำคัญๆ ในเมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชร ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ อาณาจักรสุโขทัยอ่อนแอลงจากการแย่งชิงการสืบทอดอำนาจการปกครอง ทำให้กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นบ้านเมืองที่เข้มแข็งขึ้นในเขตภาคตะวันออกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาขยายอำนาจขึ้นมา จวบจนปี พ.ศ.๑๙๒๑ รัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) แห่งกรุงศรีอยุธยา สุโขทัยจึงตกเป็นเมืองประเทศราชของอยุธยา โดยมีกษัตริย์ที่มีฐานะเป็นเจ้าประเทศราชปกครองมาจนถึงปี พ.ศ.๑๙๘๑ จึงหมดสิ้นราชวงศ์

สมัยอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือ “ พระเจ้าอู่ทอง ” ทรงรวบรวมเมืองต่างๆ ในที่ราบลุ่มภาคกลางเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย เมืองลพบุรี เมืองสุพรรณบุรี และเมืองสรรคบุรี เป็นต้น แล้วสถาปนาเมืองพระนครศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๙๓ บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางอันมีแม่น้ำสำคัญสามสายไหลผ่าน คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก เป็นชัยภูมิที่เหมาะสมในการตั้งรับข้าศึกศัตรู และเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตรกรรมเพาะปลูกข้าว กรุงศรีอยุธยาดำรงฐานะราชธานีของไทย เป็นศูนย์กลางทางการเมืองการปกครอง การค้า และศิลปวัฒนธรรมในดินแดนลุ่มเจ้าพระยายาวนานถึง ๔๑๗ ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาทั้งสิ้น ๓๓ พระองค์ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๓๐๑ อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาจึงได้ถูกทำลายลงในระหว่างสงครามกับพม่า สังคมในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นสังคมศักดินา ฐานะของพระมหากษัตริย์เปรียบเสมือน “ เทวราชา ” เป็นสมมติเทพ มีการแบ่งชนชั้นทางสังคมในระบบ “ เจ้าขุนมูลนาย ” ทำให้เกิดความแตกต่างของฐานะบุคคลอย่างชัดเจน รวมถึงพระสงฆ์ก็มีการกำหนดศักดินาขึ้นเช่นเดียวกัน ในการปกครองถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมดทั่วราชอาณาจักร โดยจะทรงแบ่งอาณาเขตออกเป็นหัวเมืองต่างๆ แล้วทรงมอบหมายให้ขุนนางไปครองที่ดินรวมทั้งปกครองผู้คนที่อยู่อาศัยในที่ดินเหล่านั้นด้วย ดังนั้นที่ดินและผลผลิตที่ได้จากการเกษตรกรรมส่วนใหญ่จึงตกอยู่ในมือของผู้ที่มีฐานะทางสังคมสูง พระมหากษัตริย์ทรงผูกขาดการค้าขายสินค้าในระบบพระคลังสินค้า สิ่งของต้องห้ามบางชนิดที่หายากและมีราคาแพง ราษฎรสามัญธรรมดาไม่สามารถจะมีไว้ในครอบครองเพื่อประโยชน์ทางการค้าได้ จะต้องส่งมอบหรือขายให้กับพระคลังสินค้าในราคาที่กำหนดตายตัวโดยพระคลังสินค้า และหากพ่อค้าต่างชาติต้องการจะซื้อสินค้าประเภทต่างๆ ต้องติดต่อโดยตรงกับพระคลังสินค้า ในราคาที่กำหนดตายตัวโดยพระคลังสินค้าเช่นเดียวกัน การที่พระมหากษัตริย์ทรงสนพระทัยทางด้านการค้าและทรงรับเอาชาวจีนที่มีความชำนาญทางด้านการค้ามาเป็นเจ้าพนักงานในกรมพระคลังสินค้าของไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้การค้าเจริญรุ่งเรืองก่อให้เกิดความมั่งคั่งแก่อยุธยาเป็นจำนวนมาก จนกล่าวได้ว่า ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๒๒ กรุงศรีอยุธยาเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกไกล รายได้ของแผ่นดินส่วนใหญ่มามาจากการเก็บภาษีโดยส่วนใหญ่จะถูกแบ่งไว้สำหรับเลี้ยงดูบำรุงความสุขและเป็นบำเหน็จตอบแทนพวกขุนนางและเจ้านายซึ่งเป็นผู้ปกครอง ส่วนที่เหลือก็อาจจะใช้ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์สำหรับป้องกันศัตรูที่จะมารุกราน หรืออาจจะใช้สำหรับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาบ้าง เป็นต้น ส่วนการทำนุบำรุงท้องถิ่น เช่น การขุดคลอง การสร้างถนน การสร้างวัด ก็มักจะใช้วิธีเกณฑ์แรงงานจากไพร่ทั้งสิ้น ในด้านศิลปกรรม ช่างฝีมือในสมัยอยุธยาได้สร้างสรรค์ศิลปกรรมในรูปแบบเฉพาะของตนขึ้น โดยการผสมผสานวัฒนธรรมของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ เช่น ศิลปะสุโขทัย ศิลปะล้านนา ศิลปะลพบุรี ศิลปะอู่ทอง และศิลปะจากชาติต่างๆ เช่น จีนและชาติตะวันตก ทำให้เกิดรูปแบบ “ ศิลปะอยุธยา ” ขึ้น ซึ่งสามารถศึกษาได้จากโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาวัดวาอารามต่างๆ รวมถึงปราสาทราชวังโบราณในสมัยอยุธยา อันปรากฏเด่นชัดอยู่ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น

     

สมัยธนบุรี หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า ราษฎรไทยที่เหลือรอดจากการถูกกวาดต้อนตามเขตแขวงรอบๆ พระนครต่างก็ซ่องสุมผู้คน เข้ารบราฆ่าฟันเพื่อป้องกันตนเองและแย่งชิงเสบียงอาหารเพื่อความอยู่รอด กรุงศรีอยุธยาจึงอยู่ในสภาพจลาจล บ้านเมืองแตกแยกออกเป็นก๊กเป็นเหล่า มีชุมนุมที่คิดจะรวบรวมผู้คนเพื่อกอบกู้เอกราชถึง ๖ ชุมนุม ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพิษณุโลก ชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมสุกี้พระนายกอง ชุมนุมเจ้าพิมาย ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชและชุมนุมพระเจ้าตาก ซึ่งต่อมาชุมนุมพระเจ้าตากสินเป็นกลุ่มกำลังสำคัญที่มีที่สามารถกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ โดยตีค่ายโพธิ์สามต้นแตกขับพม่าออกไปได้ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้บ้านเมืองได้สำเร็จในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และโปรดเกล้าฯให้ ปรับปรุงเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณป้อมวิไชเยนทร์สถาปนาขึ้นเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังขึ้นเป็นที่ประทับและศูนย์กลางบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยเหตุผลว่าเป็นเมืองที่มีป้อมปราการและชัยภูมิที่ดีทางยุทธศาสตร์ ขนาดของเมืองพอเหมาะกับกำลังไพร่พลและราษฎรในขณะนั้น โครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมสมัยธนบุรียังคงดำเนินรอยตามรูปแบบของอยุธยา ฐานะของพระมหากษัตริย์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ยังยึดขัตติยราชประเพณีตามแบบฉบับของกรุงศรีอยุธยาเป็นสำคัญ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจขณะนั้นอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมาก จำเป็นที่จะต้องแก้ไขเร่งด่วน สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยการสละพระราชทรัพย์ซื้อข้าวสารจากพ่อค้าชาวต่างประเทศ ด้วยราคาแพงเพื่อบรรเทาความขาดแคลน มีผลทำให้พ่อค้าชาวต่างประเทศบรรทุกข้าวสารลงเรือสำเภาเข้ามาค้าขายเป็นอันมาก ทำให้ราคาข้าวสารถูกลงและปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการ นอกจากนั้นยังทรงใช้ให้บรรดาขุนนางข้าราชการขวนขวายทำนาปีละ ๒ ครั้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวให้เพียงพอแก่ความต้องการ เป็นตัวอย่างแก่ราษฎรทั้งปวง ทำให้ราษฎรมีความกินดีอยู่ดีมากขึ้น ในด้านการค้าชาวจีนที่มาตั้งหลักแหล่งค้าขาย และทำมาหากินในราชอาณาจักรได้มีส่วนสำคัญในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของอาณาจักรธนบุรี ด้านการศาสนาและศิลปวัฒนธรรม สมัยธนบุรีเป็นสมัยของการฟื้นฟูชาติบ้านเมือง ทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้งสังฆมณฑลตามแบบอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา เช่น ทรงจัดการชำระคณะสงฆ์ที่ไม่ตั้งอยู่ในศีลวัตร สร้างซ่อมแซมวัดวาอารามที่ตกอยู่ในสภาพทรุดโทรม แสวงหาพระสงฆ์ที่มีคุณธรรมความรู้มาตั้งเป็นพระราชาคณะเป็นเจ้าอาวาสปกครองสงฆ์และสั่งสอนปริยัติธรรมและภาษาไทย ส่งพระราชาคณะไปเที่ยวจัดสังฆมณฑลตามหัวเมืองเหนือ เพราะเกิดวิปริตครั้งพระเจ้าฝางตั้งตนเป็นใหญ่และทำสงครามทั้งๆที่เป็นพระสงฆ์ และทรงรวบรวมพระไตรปิฎกให้สมบูรณ์ครบถ้วน ศิลปกรรมต่างๆจึงยังคงดำเนินตามแบบอยุธยา เนื่องจากระหว่างรัชกาลมีศึกสงครามอยู่ตลอดเวลาทำให้ช่างฝีมือไม่มีเวลาในการที่จะสร้างสรรค์งานด้านศิลปะให้ก้าวหน้าออกไปจากเดิม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงครองราชย์อยู่เป็นระยะเวลา ๑๕ ปี เนื่องจากทรงมีพระราชภาระกิจทั้งทางด้านการกอบกู้บ้านเมืองซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจตกต่ำจากภาวะการสงคราม และปกป้องบ้านเมืองซึ่งข้าศึกได้ยกเข้ามาตลอดรัชกาล ปลายรัชกาลได้ทรงมีพระสติฟั่นเฟือนในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ เจ้าพระยาจักรีซึ่งเป็นแม่ทัพสำคัญของสมเด็จพระเจ้าตากสิน จึงได้รับอัญเชิญให้ครองราชย์สมบัติ

  

 

สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ โปรดเกล้าฯให้ย้ายราชธานีมาตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับกรุงธนบุรี การสร้างพระนครเริ่มขึ้น ในปี พ.ศ.๒๓๒๖ เมื่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ ได้พระราชทานนามว่า “กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ฯ ” เป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศที่เจริญรุ่งเรือง มีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีปกครองประเทศมาจนถึงปัจจุบันจำนวน ๙ พระองค์ สภาพกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นประชากรของประเทศยังคงน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ทั้งหมด สังคมความเป็นอยู่ยังคงยึดถือสืบเนื่องมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีการจัดระเบียบทางสังคมด้วยระบบเจ้าขุนมูลนาย ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ ผลิตสินค้าเกษตร จำพวกน้ำตาล พริกไทย และหาของป่าจำพวกไม้สัก ไม้พยุง ไม้กฤษณาและไม้ฝาง การปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก ผลผลิตที่ได้จะใช้บริโภคและส่งออกขายเฉพาะส่วนที่เหลือจากการบริโภคแล้วเท่านั้น เนื่องจากบ้านเมืองยังคงตกอยู่ในสภาวะสงคราม การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นการทำการค้ากับประเทศจีน อยู่ภายใต้ความควบคุมของพระมหากษัตริย์โดยมีกรมพระคลังสินค้าเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ทางการค้า ต่อมามีการเซ็นสัญญาบาวริงในปี พ.ศ.๒๓๙๘ การผูกขาดทางการค้าถูกทำลาย ระบบการค้าเสรีเริ่มเกิดขึ้นและขยายกว้างขวางออกไปทำให้การค้าขายเจริญมากขึ้น มีชาวต่างชาติเข้ามาติดต่อซื้อขายกับไทยอย่างมากมาย เช่น อังกฤษซึ่งเข้ามาทำอุตสาหกรรมป่าไม้ในไทย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เดนมาร์ก โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ ปรัสเซีย สวีเดน รุสเซีย เป็นต้น ข้าว ได้กลายเป็นสินค้าสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในการส่งเป็นสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศ นอกจากนั้นยังมีพืชเศรษฐกิจอื่นๆรวมถึงสินค้าที่เกิดจากการแปรรูปผลผลิตทางด้านเกษตรกรรม ทำให้เกิดการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนด้านสังคมในปี พ.ศ.๒๔๗๕ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงระเบียบสังคม เป็นสังคมระบอบประชาธิปไตย ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันทางด้านกฎหมาย ในด้านการศาสนาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าแล้ว วัดวาอารามต่างๆ รวมทั้งคัมภีร์ทางศาสนาถูกทำลายเสียหายเป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้ทำนุบำรุงพระศาสนา โปรดฯให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดประจำพระนคร แล้วทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตจากเมืองเวียงจันทร์มาประดิษฐานเพื่อให้เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง โปรดเกล้าฯให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกและให้ถือเป็นธรรมเนียมที่จะให้พระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่ชำรุดทรุดโทรม ส่วนการปกครองคณะสงฆ์ยังคงใช้แบบอย่างของกรุงศรีอยุธยา มีการสอบไล่พระปริยัติธรรมสำหรับพระภิกษุสามเณรโดยนับเป็นข้าราชการแผ่นดินอย่างหนึ่งด้วย ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงแบ่งการปกครองคณะสงฆ์ออกเป็น ๔ คณะ คือ คณะเหนอ คณะใต้ คณะกลางและคณะอรัญวาสี เจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดสมอราย ได้ทรงประกาศประดิษฐานนิกายธรรมยุติขึ้นในพุทธศาสนาศิลปกรรมในด้านต่างๆ ยังคงเลียนแบบอยุธยาตอนปลาย เช่น การสร้างพระพุทธรูปส่วนมากสร้างขึ้นตามแบบพระพุทธรูปที่มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา นิยมสร้างพระพุทธรูปองค์เล็กๆ มากขึ้น และมักสร้างเป็นภาพเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติตอนต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ นิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ เช่น พระศรีอาริยเมตไตรย์และสาวกที่ครองผ้าอุตราสงค์เป็นลายดอก ส่วนสถาปัตยกรรมในตอนแรกยังคงเป็นแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงนิยมศิลปะแบบจีนทำให้เกิดศิลปะผสมผสานระหว่างไทยจีน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา อิทธิพลของชาติตะวันตกได้เข้ามาสู่ประเทศไทยทำให้รูปแบบสถาปัตยกรรมกลายเป็นแบบตะวันตกมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 30, 2011 นิ้ว สมัยประวัติศาสตร์ไทย

 

ประวัติศาสตร์ทั่วไป

   

  

 

 

1 การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากล
           จุดมุ่งหมายในการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์เป็นยุคสมัยต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต  และช่วยให้เข้าใจง่าย  ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากลแบ่งออกเป็น  2  สมัย  ดังนี้
       1.1  สมัยก่อนประวัติศาสตร์  เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรเหมือนตัวหนังสือขึ้นใช้  จึงยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร  การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์  จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ  เช่น  โครงกระดูกของมนุษย์  เครื่องมือ  เครื่องใช้  และเครื่องประดับที่ทำจากหินและโลหะ  เป็นต้น
        สมัยก่อนประวัติศาสตร์  แบ่งได้เป็น  2  ชุด  คือ  ยุคหินและยุคโลหะ
        1.1.1   ยุคหิน  เริ่มเมื่อประมาณ  500,000  ถึง  4,000  ปี  ล่วงมาแล้ว  แบ่งเป็น  3  ยุคย่อย ๆ ดังนี้
           ( 1 )  ยุคหินเก่า  เป็นช่วงเวลาแรก ๆ ของมนุษย์ชาติ  มนุษย์ใช้ชีวิตอย่างเร่ร่อน  ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์  จับปลา  หาของป่ากินเป็นอาหาร  อาศัยอยู่ในถ้ำ  รู้จักใช้เครื่องมือที่ทำด้วยหินอย่างหยาบๆ  และเขียนภาพตามฝาผนัง
           ( 2 )  ยุคหินกลาง  มนุษย์ยังคงดำรงชีวิตเหมือนในยุคหินเก่า  แต่รู้จักทำเครี่องมือเครื่องใช้สำหรับล่าสัตว์ด้วยหินที่ประณีตมากขึ้น   และเริ่มรู้จักการอยู่รวมกลุ่มเป็นสังคมมากขึ้น
           ( 3 )  ยุคหินใหม่  มนุษย์มีความเจริญมากกว่ายุคก่อนๆ  รู้จักตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งรู้จักการเพราะปลูก  เลี้ยงสัตว์  ทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผา  เครื่องประดับ  และเครื่องมือล่าสัตว์หินขัด
         1.1.2  ยุคโลหะ  อยู่ในช่วงเวลาประมาณ  4,000 ถึง  1,500  ปีล่วงมาแล้ว  แบ่งเป็น  2  ยุคย่อยๆ  ดังนี้
           ( 1 )  ยุคสำริด  มนุษย์รู้จักใช้โลหะสำริด  (ทองแดงผสมดีบุก)  ทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับ  มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าในยุคหิน  อาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น  รู้จักปลูกข้าว  และเลี้ยงสัตว์  ( หมูและวัว )
             ( 2 )  ยุคเหล็ก  มนุษย์รู้จักนำเหล็กมาหลอมทำอาวุธ  เครื่องมือ  เครื่องใช้ ๆ แต่ยังคงดำรงชีวิตด้วยการเกสรกรรม  มีการติดต่อขายระหว่างชุมชนต่าง ๆ   ทำให้ความเจริญขยายตัวอย่างรวดเร็ว
        2.2  สมัยประวัติศาสตร์  เป็นยุคสมัยที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้  มีการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ  ความเชื่อ  และกิจกรรมในชีวิตประจำวัน  เป็นลายลักษร  มักพบอยู่ตามผนังถ้ำ  แผ่นหิน  แผ่นดินเหนียว  และกระดาษ  เป็นต้น
                 ชุมชนของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ  ก้าวเข้าสู่ “ สมัยประวัติศาสตร์ ” ในระยะเวลาไม่เท่ากัน  เนื่องด้วยความสามารถของมนุษย์ในการส้างสรรค์อารยธรรมความเจริญมีแตกต่างกัน  ดังนี้  สมัยประวัติศาสตร์ในทางสากล  จึงแบ่งเป็น   3  ยุคย่อย ๆ ดังนี้
          2.2.1  ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ  เริ่มตั้งแต่ความเจริญของแหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ ( อียิปต์โบราณ )  และอายธรรมกรีก  โรมัน  ตามลำดับ  จนกระทั่งสิ้นสุดลงเมื่อกรุงโรม  ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันถูกตีแตกโดยพวกอนารยชน  ในปี  พ.ศ.  1019 
          2.2.2  ประวัติศาสตร์สมัยกลาง  เริ่มภายหลังจากที่กรุงโรม  ( จักรวรรดิโรมันตะวันตก )  ทุกพวกอนารยชนตีแตกในปี  พ.ศ.  1019  จนกระทั่งในปี  พ.ศ.  1996  สมัยกลางจึงสิ้นสุดลง  เมื่อชนชาติเติร์ก (Turk)  ที่นับถือศาสนาอิสลามเข้าโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล (จักรวรรดิโรมันตะวันออก)
            2.3.3  ประวัติศาสตร์สมัยใหม่  เริ่มภายหลังจากที่กรุงคอนสติติโนเปิลถูกตีแตก  เมื่อปี  พ.ศ.  1996  เป็นต้นมา  จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่  2  ในปี  พ.ศ.  2488
            มีเหตุการณ์สำคัญในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่หลายประการ  อาทิเช่น  การปฏิรูปศาสนา  การเกิดลัทธิหรือแนวความคิดแบบเสรีนิยม  ประชาธิปไตย  และคอมมิวนิสต์  ทางด้านเศรษฐกิจ   มีการขยายตัวทางด้านการค้าทางเรือสำเภา  การแสวงหาดินแดนใหม่  และการปฏิวัติอุตสาหกรรม  เป็นต้น
3.   การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบไทย
          นักประวัติศาสตร์ไทยไม่นิยมแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ในสมัยโบราณ  สมัยกลาง  และสมัยใหม่  เหมือนดังที่ทำในประเทศตะวันตก  แต่จะมีลักษณะเป็นรูปแบบของตนเอง  มีดังนี้
       3.1   แบ่งตามสมัย  (หรือตามเวลาที่เริ่มใช้ตัวอักษร )  แบ่งได้  2  สมัย ดังนี้
                  (1) สมัยก่อนประวัติสาสตร์  หมายถึง  ยุคหิน  (ยุคหินเก่า  หินกลาง  และหินใหม่ )  และยุคโลหะ  ( ยุคสำริด  และเหล็ก )  มีอายุประมาณ  700,000  –  1,400  ปีมาแล้ว  โดยมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยโดยลำดับมา
                    (2)  สมัยประวัติศาสตร์  เป็นสมัยที่ผู้คนเริ่มใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ  สำหรับดินแดนประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์  เมื่อตอนปลายพุทธศตวรรษที่  12   จากหลังฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ  คือ  ศิลาจารึกที่ปราสาทเขาน้อย  จังหวัดสระแก้ว  ทำขึ้นเมื่อปี  พ.ศ. 1180
          3.2  แบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร  ก่อนที่จะเกิดอาณาจักรสุโขทัย  ซึ่งเป็นอาณาจักรแรกของคนไทย  ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันมีอาณาจักรต่างๆ  เกดขึ้นมาก่อนแล้ว  แต่สันนิฐานว่าไม่ใช่อาณาจักรของคนไทย
                 ดังนั้น  เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา  จึงแบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร  ได้แก่  สมัยทวารวดี, สมัยละโว้( พลบุรี), สมัยศรีวิชัย ( สุราษฎร์ธานี) และสมัยตามพรริงค์ ( นครศรีธรรมราช) เป็นต้น
         3.3  แบ่งยุคสมัยตามราชธานี   เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามราชธานีของไทยเรียงตามลำดับ  ได้แก่  สมัยสุโขทัย, สมัยอยุธยา, สมัยธนบุรี  และสมัยรัตนโกสินทร์
         3.4  แบ่งยุคตามสมัยพระราชวงศ์  เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามพระราชวงศ์  เช่น  สมัยราชวงศ์อู่ทอง, สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ, สมัยราชวงศ์สุโขทัย, สมัยราชวงศ์ปราสาททอง  และสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง  ทั้งหมดนี้  เป็นชื่อพระราชวงศ์ที่ครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์ในสมัยอยุธยา
          3.5  แบ่งยุคสมัยตามราชกาล  เป็นการแบ่งยุคสมัยในช่วงเวลาที่พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นทรงครองราชย์อยู่  ได้แก่  รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เป็นต้น
        3.6  แบ่งยุคสมัยตามระบอบการเมืองการปกครอง  ได้แก่  สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์  และสมัยประชาธิปไตย  โดยถือตามเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475  เป็นเส้นแบ่งยุคสมัยดังกล่าว  โดย
 “ คณะราษฎร” ใช้กำลังทหารเข้ายืดอำนาจและเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ประชาธิปไตย
          3.7  แบ่งยุคสมัยตามรัฐบาลบริหารประเทศ  ได้แก่  สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม, สมัยรัฐบาลพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์  และสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม  กิตติขจร  เป็นต้น

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 30, 2011 นิ้ว สมัยประวัติศาสตร์ไทย